กิจกรรม Active learning นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1

 ปัจจุบันนี้ เรื่องของ Active Learning นับเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในการศึกษาช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ ด้วยเพราะเป็นแนวจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และตอบสนองต่อการพัฒนาของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยความหมายของ Active Learning (การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ) นั้น หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรียนรู้อย่างมีความหมาย

โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

โดยนายเสวียน สุวรรณภักดี ผู้อำนวยการสถานศึกษา และคณะครูโรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ติดตั้งทีวีดิจิตอล เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ก้าวทันยุคสมัยใหม่ อีกทั้งยังส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ต่างๆให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าคิด และกล้าพูด เพื่อเด็กจะได้ก้าวไปสู่อนาคตที่ดีของชาติต่อไป

จัดทำสื่อ โดย อาจารย์ วรรณพร ชัยศรี

กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

โดยนักเรียนได้พูดคุยและลงมือปฏิบัติเพื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

 สำหรับลักษณะของกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning นั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยศ  เรืองสุวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ ขณะนั้น (ปี 2553) ได้อธิบายถึงลักษณะของกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ว่า

           1. เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

           2. เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

           3. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

           4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

           5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

           6. เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด

           7. เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง

           8. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด

           9. ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

           10. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน