การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา แบบผสมผสาน ที่ส่งผลต่อความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา  แบบผสมผสาน ที่ส่งผลต่อความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน

ผู้วิจัย                      นางสาวจิตรา  รัตนบุรี

ปีที่ศึกษา                2561

บทคัดย่อ

 

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสาน ที่ส่งผลต่อความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อ 1)ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสาน ที่ส่งผลต่อความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน  2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสาน ที่ส่งผลต่อความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  3)  ทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสาน ที่ส่งผลต่อความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน และ 4)  ประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน ใช้รูปแบบวิจัย R&D ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน, ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) : การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้, ขั้นตอนที่  3  การวิจัย (Research) : การทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ และ ขั้นตอนที่ 4  การพัฒนา (Development) : การประเมินผลและปรับปรุงการใช้แผนการจัดการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง  จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ  1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสาน จำนวน 8 แผน  รวมใช้เวลาทั้งหมด 15 ชั่วโมง  และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา  แบบเลือกตอบชนิด  4  ตัวเลือก  จำนวน  15  ข้อ  และข้อสอบแบบอัตนัย  จำนวน 5  ข้อ  สถิติที่ใช้ คือ   ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent  Samples)

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ข้อมูลพื้นฐาน

คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญมากวิชาหนึ่งเพราะเป็นวิชาที่ฝึกให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล  สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถี่ถ้วน  รู้จักค้นหาความเป็นจริงและเป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ในสาขาวิชาอื่น ๆ แต่การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับไม่น่าพอใจโดยเฉพาะทักษะที่เกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา

  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสาน

ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80.73/86.08

  1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.8115 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 81.15
  2. ความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อน มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปได้ว่าการศึกษาครั้งนี้  ครูผู้สอนในรายวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3 สามารถนำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาแบบผสมผสาน ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้และแก้โจทย์ปัญหาเรื่องอื่น ๆ ได้